วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

อันตรายจากแสงแดดสู่ผิวสาวๆที่คุณคาดไม่ถึง




ทุกคนทราบดีว่า แสงแดดมีคุณประโยชน์และมีความจำเป็นต่อร่างกาย เช่น ในการสร้าง vitamin D ซึ่งจะช่วยให้กระดูกมีความแข็งแรง  และในทางการแพทย์ ยังมีการใช้พลังงานบางช่วงของแสงแดด ในการรักษาโรคผิวหนังบางชนิดด้วย เช่น ผื่นสะเก็ดเงิน และโรคด่างขาว


แสงจากดวงอาทิตย์เป็นพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic radiation) ที่ประกอบด้วยความยาวคลื่น ตั้งแต่ radio waves (>1mm) ไปจนถึง gamma rays(<100Å)   แต่ พลังงานแสงแดดที่ตกมาถึงพื้นโลก ๙๙% ประกอบด้วยความยาวคลื่น 3 ช่วง คือ
Visible light (แสงสว่างที่ตามองเห็น) ร้อยละ 32
รังสี Infrared ร้อยละ 66
รังสี Ultraviolet ร้อยละ


     Ultraviolet A (UVA wavelength 320-400nm) : UVA เป็นรังสี UV จากแสงอาทิตย์ที่พบได้มากบนพื้นผิวโลก โดยพบรังสี UVAได้ตลอดวัน และพบได้ตลอดทั้งปี สามารถผ่านเข้าสู่ชั้นหนังกำพร้าและลงลึกถึงชั้นหนังแท้ได้  มีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในชั้นหนังแท้ ถ้าได้รับมากเกินไป จะไปทำลายเนื้อเยื่อคอลลาเจน และอิลาสติก ทำให้เกิดการแก่ก่อนวัย ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นบนผิวหนัง (photoaging)  และปัจจุบันเชื่อว่า UVA ก็เป็นสาเหตุของมะเร็งผิวหนังด้วยเช่นกัน

     Ultraviolet B ( UVB wavelength 280-320nm) : UVB เป็นรังสี UV จากแสงอาทิตย์ที่พบบนพื้นผิวโลกน้อยกว่ารังสี UVA โดยจะพบรังสี UVB มากในช่วง 10.00 -14.00 น.และพบมากในช่วงฤดูร้อน UVB จะผ่านเข้าไปในผิวหนังได้แค่ชั้นหนังกำพร้า และชั้นตื้นๆของหนังแท้  และถูกดูดซับได้น้อย  UVB เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการไหม้แดด (sunburn) ถ้าได้รับในปริมาณที่มากเกินไป และถ้าได้รับมากในระยะยาว อาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้

Ultraviolet C (UVC wavelength190-280 nm): UVC เป็นรังสี UV ที่สามารถผ่านเข้าสู่ผิวหนังได้ลึกมากกว่าUVA เป็นอันตรายอย่างมากต่อนิวเคลียสของเซลล์ จึงก่ออันตรายต่อผิวหนังมาก แต่เนื่องจาก UVC จะถูกกรองโดย Ozone ในบรรยากาศชั้น Stratosphere ทำให้ไม่สามารถผ่านมาถึงพื้นโลกได้ (เฉพาะUVA และ UVB(>290nm) เท่านั้นที่สามารถส่องผ่านชั้น Ozone มาถึงพื้นโลก)


เกิดจากผิวหนังได้รับแสงแดดในปริมาณที่มากเกินไป 
มักเกิดภายใน 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะ ภายใน 2 -6 ชั่วโมงแรก หลังจากถูกแดด เช่น หลังการอาบแดด

มีอาการเกิดขึ้นหลังได้รับแสงแดดสะสมเป็นเวลานาน ได้แก่
สีผิวคล้ำขึ้น (tanning) เกิดจากมีการผลิตและกระจายของเม็ดสีมากขึ้น เพื่อป้องกันนิวเคลียสของเซลล์ของผิวหนัง จากอันตรายของแสงแดด
เป็นสาเหตุหนึ่งของ Photoaging  หรือ Extrinsic aging (การแก่ของผิวหนัง) ทำให้ ผิวหนังมีรอยย่นก่อนวัย หยาบกร้าน  สีผิวไม่สม่ำเสมอ เป็นฝ้า กระ อาจมีเส้นเลือดฝอย หรือเกิดจ้ำเลือดได้ง่าย

เป็นสาเหตุของมะเร็งผิวหนัง : แม้ว่าการจะเกิดมะเร็งผิวหนัง จะขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง แต่ในปัจจุบันเชื่อว่า ผิวหนังที่มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก จากการสะสมของการได้รับแสง UV ในระยะยาวอาจก่อให้เกิดมะเร็งของผิวหนังได้ (ปัจจัยอื่นๆ เช่น ขึ้นกับสีผิวของคนเราด้วย ในชนชาติที่ผิวขาว จะเกิดมะเร็งผิวหนังได้มากกว่าชนชาติที่สีผิวคล้ำ นอกจากนี้ตำแหน่งที่อาศัยอยู่ก็มีความสำคัญ ถ้าอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ก็มีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น)
ทำให้ภูมิคุ้มกันของผิวหนังลดลง : ซึ่งเชื่อว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังมากขึ้น และนอกจากนั้น ยังเชื่อว่าทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยทั่วไปลดลงด้วย ในบางคนอาจมีแผลร้อนใน ในปาก หลังจากถูกแสงแดดมากเกินไป รวมทั้ง โรคติดเชื้อบางอย่าง อาจมีอาการกำเริบขึ้น เช่น อีสุกอีใส เริม เป็นต้น
ผู้ป่วยโรคผิวหนังบางชนิด จะมีความไวต่อแสงแดดมากกว่าคนปกติ เมื่อถูกแสงแดดจะทำให้อาการของโรคกำเริบขึ้นได้ เช่น สิวบางชนิด, SLE, DLE, PMLE, Rosacea, Solar urticaria, porphyria, xeroderma pigmentosum, actinic prurigo  ผู้ป่วยเหล่านี้จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงแสงแดด หรือใช้ครีมกันแดด เป็นประจำ
 ในระยะสั้น สามารถเกิด Photokeratitis หรือ 'Snow-blindness'
 ในระยะยาว ถ้าได้รับสะสมมากเกินไป ทำให้เกิดต้อกระจกได้ และยังพบว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของสายตาสั้นในคน  สูง อายุได้ (age-related near-sightedness)




เนื่องจาก แสงUV สามารถผ่านทะลุกระจกได้ ผ่านก้อนเมฆได้ และแสงแดดสามารถสะท้อนเม็ดทราย ผิวนํ้า และหิมะ มาถึงร่างกายเราได้ ดังนั้น แม้จะอยู่ในอาคาร ในที่ร่ม ในวันที่ดูเหมือนมืดคลึ้ม หรือเวลาไปเที่ยวชายหาด แม้จะไม่เดินตากแดดก็ต้องป้องกันเสมอ และจำเป็นสำหรับคนทุกอายุหลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วง 10.00 น. ถึง 15.00 น. ซึ่งจะมีปริมาณของแสง UVB ซึ่งเป็นตัวการหลักในการเกิดการไหม้แดด มากกว่าช่วงเวลาอื่นของวันถ้าจำเป็นต้องออกไปกลางแดด ควรเลือกสวมเสื้อผ้าที่เหมาะสม เช่น สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว เสื้อที่หนาและหลวมๆจะกันแสงได้ดี และผ้าฝ้ายจะป้อง    กันรังสีดีกว่าผ้าที่ทำจากใยสังเคราะห์
และควรใช้อุปกรณ์ช่วยกำบังแสงแดด เช่น ใส่หมวกปีกกว้าง (หมวกที่ป้องกันแดดได้ผลดี ต้องมีขอบหรือปีกกว้างขนาดอย่างน้อย 4 นิ้ว ) กางร่ม สวมแว่นตากันแสง UV เพื่อป้องกัน การเกิดต้อกระจก
แม้จะทาครีมกันแดด ก็ไม่ควรออกแดดเกิน 30 นาที ในวันแรกของการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ในวันต่อๆมา จึงจะสามารถค่อยๆเพิ่มการออกแดดขึ้นได้ วันละ 10 นาที
ยาบางชนิด จะทำให้ผิวหนังไวต่อแสงแดดมากขึ้น เช่น ยาในกลุ่มเตตราไซคลิน ซัลฟา ยากันชัก ยาแก้โรคซึมเศร้า ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หากเป็นผู้ป่วยที่ใช้ยาดังกล่าวอยู่ ควรป้องกันแสงแดดมากขึ้น


อาการแดง อาการบวม ปวด แสบร้อนตุ่มพอง : ประคบผิวส่วนนี้ให้เย็นขึ้น และ ทายาลดอาการบวมแดง และ moistureizer
การลอกของผิวหนัง : ใช้ moistureizer หรือ oil ทา เมื่อไม่มีอาการบวมแดงแล้ว อาจร่วมกับการขัดผิวอย่างอ่อนโยนด้วย body scrub



ปกติ 390 บาท
พิเศษลดเหลือ 290 บาท

สอบถามโทร 085-9083178 วราพร

http://pannfitbeautysuncream.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น